การปฏิบัติดูแลรักษาในเรือนเพาะชำ ในแปลงปลูก ในภาชนะปลูก
จุดประสงค์ปลายทาง
ปฏิบัติดูแลรักษาไม้ดอกประดับในเรือนเพาะชำ ในแปลงปลูก และในเรือนเพาะชำได้
เนื้อหา
การปฏิบัติดูแลรักษาในเรือนเพาะชำ
เรือนเพาะชำ หมายถึงสถานที่สำหรับเพาะชำ หรือขยายพันธุ์พืชโดยตรง ดังนั้นในเรือนเพาะชำจึงมีกระบะเพาะชำ
แปลงเพาะชำต้นไม้ มีที่ทำงาน เช่น เปลี่ยนกระถาง ทำการขยายพันธุ์ ปลูกไม้กระถาง หรือรวบรวมพันธุ์ไม้ที่ยังไม่แข็งแรงไว้ในที่เดียวกัน
เพื่อสะดวกในการดูแล ลดแสงแดดให้น้อยลง ลดอุณหภูมิ มีความชื้นสูงเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ที่มีอายุน้อย และยังไม่
แข็งแรงพอที่จะนำไปปลูกในแปลงกลางแจ้งได้
ภาพที่ 40 ลักษณะที่ดีของเรือนเพาะชำ
ภาพจากหนังสือ คู่มือเมล็ดพันธุ์ไม้ดอก : เอ เอฟ เอ็ม ฟลาวเวอร์ซีด
ลักษณะทั่วไปของเรือนเพาะชำ
เรือนเพาะชำที่ดีต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมแก่การขยายพันธุ์ คือ
1. แสงสว่างเป็นสิ่งสำคัญในการเพาะขยายพันธุ์ และเลี้ยงไม้อ่อนอย่างมากแสงแดดจัดสามารถเผาต้นไม้อ่อนให้เหี่ยวแห้ง
ตายได้ถ้าต้นไม้นั้นยังไม่แข็งแรงพอ การลดแสงแดดลงอาจใช้ไม้ระแนงปิดเป็นช่อง ๆหรือใช้ตาข่ายดำกลุมเพื่อลดความเข้มของแสงลง
ไม่ควรใช้พันธุ์ไม้อื่นเลื้อยคลุมเรือนเพาะชำเพระจะทำให้แสงสว่างส่องไม่ถึงพื้นทำให้มีความชื้นสูง และอาจเกิดโรคจากเชื้อราได้
2. อุณหภูมิ ในเรือนเพาะชำไม่ควรมีอุณหภูมิสูงเกินไปเพราะพันธุ์ไม้ทั่ว ๆ ไปชอบอากาศเย็น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดย
กระทันหันจะมีผลต่อต้นไม้ และต้นไม้ที่อ่อนจะกระทบกระเทือนไปในทางเสียหายได้ง่าย
3. การระบายอากาศ การถ่ายเทอากาศที่สะดวกจะทำให้พันธุ์ไม้อ่อนเจริญเติบโตและแข็งแรงได้ดี แต่ก็ไม่ควรมีลมโกรก หรือ
พัดแรงเกินไป
4. ความชุ่มชื้น จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ถ้ามีแสงแดดจัด อุณหภูมิสูง มีลมโกรก ก็จะทำให้มีการ
ระเหยน้ำมากขึ้น ความชื้นก็จะลดน้อยลง เรือนเพาะชำนั้นไม่ต้องการความชื้นสูงมากนัก เพราะจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคราต่าง ๆ แต่ถ้าแห้งมากเกินไปก็จะทำให้ต้นไม้เหี่ยวเฉาการให้น้ำก็สิ้นเปลืองมากขึ้น
5. การจัดระเบียบที่ดีในเรือนเพาะชำจะทำให้การทำงานสะดวกขึ้น การปฏิบัติดูแลรักษาง่าย ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ ดูเป็นระเบียบ
เรียบร้อย สวยงาม สะดวกแก่การค้นหาพันธุ์ไม้ที่ต้องการ
ภาพที่ 41 การใช้ตาข่ายพรางแสงเพื่อลดอุณหภูมิ ภาพจากวารสาร เคหการเกษตร : ฉบับที่ 6 / 2544
ภาพที่ 42 การจัดระเบียบที่ดีในเรือนเพาะชำทำให้ง่ายต่อการดูแล
ภาพจากหนังสือ ไม้ดอกไม้ประดับ (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) : ปิฏฐะ บุญนาค
ต้นไม้ที่อยู่ในเรือนเพาะชำส่วนใหญ่จะเป็นต้นไม้ที่ต้องมีการเอาใจใส่ดูแลรักษาค่อนข้างพิถีพิถัน และเพื่อให้ต้นไมé
เหล่านั้นเจริญเติบโตแข็งแรง การเอาใจใส่ต้นไม้ในเรือนเพาะชำควรปฏิบัติดังนี้
1. การให้น้ำ
1.1 การให้น้ำในกระบะเพาะเมล็ด ในกระบะเพาะเมล็ดจะต้องมีความชื้นสม่ำเสมอตลอดเวลาในการงอก
ดังนั้นควรต้องตรวจดูว่าสมควรจะรดน้ำตอนไหน เมื่อไร เพราะถ้าปล่อยให้กระบะที่ใช้เพาะเมล็ดแห้งจะทำให้การงอกไม่สม่ำเสมอ
การเพาะเมล็ดจะไม่ได้ผล
1.2 การให้น้ำสำหรับกิ่งปักชำ เนื่องจากกิ่งปักชำยังไม่มีราก ขณะเดียวกันการคายน้ำจากกิ่งปักชำยังมีอยู่โดยเฉพาะ
กิ่งอ่อนที่มีใบติดด้วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาความชื้นสำหรับกิ่งปักชำให้สม่ำเสมอ เมื่อทำการปักชำเรียบร้อยแล้ว
ต้องรดน้ำตามทันที และยังต้องรักษาความชื้นในกระบะชำรวมทั้งบรรยากาศรอบ ๆ ให้ชื้น ไม่เช่นนั้นอาจทำให้กิ่งปักชำคายน้ำออกมา
มากจนทำให้เซลในกิ่งชำแห้งและตายได้ ( อาจใช้วิธีนำพลาสติกมาคลุมกิ่งปักชำไว้เพื่อป้องกันการคายน้ำ ซึ่งได้ผลดี )
1.3 การให้น้ำแก่ต้นกล้า และ กิ่งปักชำที่มีรากแล้ว หลังจากต้นกล้าหรือกิ่งปักชำเริ่มเจริญเติบโตแตกรากใหม่ การให้น้ำในช่วงนี้อาจลดจำนวนการให้น้อยลงและให้ตามความจำเป็นควรสังเกตดูวัสดุปลูกอย่าให้แห้งเท่านั้น
ภาพที่ 43 การให้น้ำโดยใช้ สปริงเกลอร์
ภาพจากวารสาร เคหการเกษตร : ฉบับที่ 9 / 2544
สำหรับระยะเวลาในการให้น้ำนั้นโดยทั่วไปไม่มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัวแน่นอน ทั้งนี้เนื่องจากองค์ประกอบต่าง ๆ ในแต่ละพื้นที่
ไม่เหมือนกัน ดังนั้นผู้ปลูกควรพิจารณาเพื่อให้เกิดความเหมาะสม และที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ ความชื้นที่เกิดขึ้นถึงแม้ว่าจะเป็นผลดี
แก่ต้นไม้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรระมัดระวังเรื่องนี้ให้มาก ซึ่งถ้าจำเป็นบางครั้งก็ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อราช่วยไม่เช่นนั้นก็จะเกิดความเสียหายแก่ต้นไม้ที่เราดูแลรักษาได้
2. การให้ปุ๋ย
วัตถุประสงค์ในการให้ปุ๋ยนั้นส่วนมากต้องการให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดี และแข็งแรงวิธีการให้ปุ๋ยที่ถูกต้องจึงเป็น สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้พืชได้รับประโยชน์จากธาตุอาหารที่ใส่ลงไปได้อย่างเต็มที่ และต้องมั่นใจได้ว่าไม่เป็นอันตรายต่อพืช เนื่องจากปุ๋ยเคมี
มีความเข้มข้นมาก ถ้าเราใช้ในอัตราที่สูงเกินไปจะทำให้พืชตายได้ โดยเฉพาะต้นกล้าที่กำลังงอกใหม่ หรือกิ่งชำเพิ่งออกรากใหม่ ดังนั้นการ
ใส่ปุ๋ยจึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากสำหรับปุ๋ยเคมีที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นปุ๋ยที่ช่วยเร่งในการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ ซึ่งได้แก่ปุ๋ย
ยูเรีย ใช้ได้โดยนำมาผสมน้ำในอัตรส่วน ปุ๋ย 1 - 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ( หรือ 1 ปีบ ) ใช้รดให้ทั่ว 7 - 10 วันต่อครั้ง นอกจากนี้ยังอาจ
ใช้ฮอร์โมนบำรุงโดยการฉีดพ่นทางใบ ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้พืชได้รับสารอาหารเพิ่มเติมจากที่รากดูดขึ้นมาจากดิน
3. การใช้ยากำจัดศัตรูพืช
สำหรับเรือนเพาะชำซึ่งนอกจากเป็นสถานที่เพาะ และขยายพันธุ์ต้นไม้แล้ว ยังเป็นที่สำหรับพักฟื้นต้นไม้ที่บอบช้ำ
จากการนำไปใช้งานประดับตามที่ต่าง ๆ หรือต้นไม้ที่ขนย้ายมาใหม่ รวมทั้งต้นไม้ที่ต้องการแสงน้อยชอบที่ร่ม รำไร ทำให้ในเรือนเพาะชำ
เป็นที่ ๆ มีความชื้นค่อนข้างสูงจึงเป็นแหล่งที่เหมาะสมในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดจากเชื้อราและที่สำคัญ
ยังสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย ดังนั้นในบางครั้งเราจึงจำเป็นต้องใช้สารเคมีบางอย่างเข้าช่วยในการป้องกันกำจัดโรคและ
แมลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเรือนเพาะชำ ซึ่งสารเคมีที่ใช้ก็อาจเป็นสารเคมีที่ใช้โดยทั่ว ๆ ไปได้แก่
2.1 ยาปฏิชีวนะป้องกันเชื้อแบคทีเรีย เช่น เสตรปโตมัยซิน
2.2 ยาปฏิชีวนะป้องกันเชื้อรา เช่น ไดโฟราแทน ไซแนบ แคบแทน
2.3 ยากำจัดแมลงชนิดต่างๆ เช่น เซฟวิน คลอเดน มาลาไธออน
นอกจากสารเคมีดังกล่าวมาแล้วเรายังอาจใช้สารธรรมชาติทดแทนการใช้สารเคมีในการควบคุมโรคและแมลง
ในเรือนเพาะชำได้อีกวิธีหนึ่งด้วย สารธรรมชาติที่เราสามารถหาใช้ง่ายได้แก่ ยาสูบ เมล็ดสะเดา เมล็ดน้อยหน่า พริก ดอกดาวเรือง
เป็นต้น ถึงแม้ว่าสารธรรมชาติเหล่านี้จะออกฤทธิ์ค่อนข้างช้าแต่ก็เป็นการช่วยลดมลภาวะต่างๆ เป็นการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ
ช่วยลดต้นทุนการผลิต และยังไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้อีกด้วยนอกจากทั้ง 3 ประการที่กล่าวมาแล้ว การจัดวางกระถาง กระบะเพาะชำ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยการแยกเป็นสัดส่วนจะช่วยให้การปฏิบัติงานสะดวกและง่ายขึ้นการช่วยให้เรือนเพาะชำมีการถ่ายเทอากาศ
ที่ดีจะช่วยทำให้การระบาดของโรคน้อยลง
การปฏิบัติดูแลรักษาในแปลงปลูก
หลังจากทำการปลูกไม้ดอกประดับลงในแปลงใหม่ ๆ ควรทำร่มบังแดดให้กับต้นกล้าที่ปลูกประมาณ 7 - 10 วัน เพื่อ
ช่วยให้ต้นกล้านั้นตั้งตัวได้เร็วขึ้น สำหรับการดูแลรักษาที่ควรปฏิบัติ คือ
1. การให้น้ำ เมื่อทำการปลูกใหม่ ๆ ควรรดน้ำให้วันละ 2 ครั้ง คือในตอนเช้าและตอนเย็น หรือตามความต้องการของพันธุ์ไม้
ที่ปลูก เช่น บางวันลมแรง แดดจัด อากาศร้อน การคายน้ำย่อมมีมากอาจต้องมีการให้น้ำเพิ่มขึ้น สภาพของดินก็มีส่วนสำคัญต่อการให้น้ำ
ดินบางชนิดอาจต้องรดน้ำบ่อย ๆ เนื่องจากดินไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ ดังนั้นผู้ปลูกจึงต้องเรียนรู้ถึงความ ต้องการน้ำของพืชที่ปลูก ด้วยตัวเองในระยะแรกของการปลูกซึ่งจะทำให้ทราบว่าจะต้องให้น้ำวันละกี่ครั้ง หรือ กี่วันครั้ง
2. การพรวนดิน เพื่อกำจัดวัชพืชควรทำทุก 10 วัน ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก เช่น แปลงขนาด 4 X 4 เมตร อาจใช้เสียมมือ หรือ
ส้อมพรวน ค่อย ๆ พรวนดินระหว่างแถวที่ปลูกพืช แต่ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ก็ควรใช้จอบพรวน การพรวนดินบริเวณที่มีรากฝอยจะช่วย
กระตุ้นให้เกิดการสร้างรากฝอยมากขึ้น แต่ต้องระวังอย่าไปตัดรากพืชโดยเฉพาะรากแก้ว เพราะจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตได้
3. การให้ปุ๋ย ถึงแม้ว่าเวลาเตรียมดินจะมีการใส่ปุ๋ยลงในแปลงแล้วก็ตามแต่ก็ควรให้ปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารแก่พืชเพิ่มเติมเพื่อ
เร่งในส่วนที่เราต้องการ เช่น ปุ๋ยยูเรีย เพื่อเร่งการเจริญเติบโต
ภาพที่ 44 แปลงปลูกเยอรบีร่าที่ได้รับการเอาใจใส่อย่างดี
ภาพจากหนังสือ เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ : สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย
การปฏิบัติดูแลรักษาในภาชนะปลูก
เมื่อพูดถึงภาชนะปลูกแล้ว คนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงกระถางซึ่งใช้ในการปลูกต้นไม้ แต่ในปัจจุบันลักษณะของกระถาง
เปลี่ยนไปเป็นรูปแบบต่าง ๆ กระถางและภาชนะปลูกมีความหมายคล้ายคลึงกัน ที่สำคัญมีวัตถุประสงค์และประโยชน์อย่างเดียวกันก็คือ ใช้
ปลูกต้นไม้ภาชนะที่นิยมนำมาปลูกต้นไม้หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า กระถาง นั้นมีหลายชนิดด้วยกันคือ กระถางดินเผา กระถางพลาสติค
กระถางเคลือบ แต่ที่นิยมมากที่สุดคือกระถางดินเผาซึ่งทำจากดินเหนียวปั้นและนำไปเผา ข้อดีของกระถางดินเผา คือ
1. มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดี เนื่องจากมีรูพรุนรอบ ๆ กระถาง ทำให้รากพืชได้รับออกซิเจนเพียงพอ ต้นพืชจึงเจริญเติบโต
ได้ดีในระยะแรกของการเจริญเติบโต
2. อุณหภูมิของเครื่องปลูกไม่สูงเกินไปโดยเฉพาะในฤดูร้อน
3. สามารถทำความสะอาดด้วยการอบไอน้ำ หรือรมด้วยสารเคมีได้ทุกชนิด โดยกระถางไม่เสียรูปทรง
ภาพที่ 45 กระถางที่ใช้ปลูกต้นไม้ชนิดต่าง ๆ
ในการดูแลรักษาไม้ดอกประดับที่ปลูกในภาชนะปลูกต่าง ๆ นั้น เนื่องจากรากพืชซึ่งถูกจำกัดขอบเขตอยู่ภายใน
ภาชนะไม่มีโอกาสที่จะไปหากินที่อื่น ดังนั้นเพื่อที่จะให้พืชเจริญเติบโตได้ตามความต้องการ เครื่องปลูกจึงต้องมีคุณภาพดี คือ ต้องมีพร้อม
ทั้งอาหาร อากาศ และน้ำ มากกว่าดินในแปลงปลูก สำหรับคุณสมบัติของเครื่องปลูกที่ดี คือ
1. โปร่ง ร่วนซุย
2. อุ้มน้ำได้ดีพอสมควร
3. ไม่เน่าเปื่อยผุพังเร็วเกินไป
4. สะอาดปราศจากโรค แมลงและวัชพืช
5. หาง่าย ราคาถูก
การให้น้ำ ไม้ที่ปลูกในกระถางหรือภาชนะปลูกทั่ว ๆ ไป ควรให้น้ำบริเวณโคนค้นแทนที่จะรดใบให้ชุ่ม เพราะการ
ฉีดน้ำใส่พุ่มใบน้ำจะกระจายออกนอกกระถาง ทำให้น้ำไม่ถึงระดับราก และถ้าภาชนะปลูกมีขนาดเล็กด้วยแล้วการให้น้ำควรตรวจดูบ่อยครั้ง
เพราะดินในกระถางย่อมจะแห้งเร็วกว่าภาชนะปลูกที่มีขนาดใหญ่ การรดน้ำในกระถางไม่ควรใช้หัวฉีดที่แรงมากเพราะจะชะหน้าดินออก
จากกระถาง ทำให้รากลอยและแห้ง ควรใช้น้ำที่ไม่แรงนักรดช้า ๆ จนชุ่มการให้ปุ๋ย เป้าหมายของการให้ปุ๋ย คือ
1. เพื่อให้ได้มาซึ่งต้นพืชที่มีคุณภาพดี
- พุ่มต้นสวยกระทัดรัด - แตกกิ่งก้านสาขามาก
- ใบมีสีเขียวสดใส - มีระบบรากแข็งแรง
- ให้ดอกดก สีสวย คุณภาพดอกดี
2. ใช้ระยะเวลาในการผลิตสั้นลง ช่วยลดระยะเวลาในการผลิต
การให้อาหารเสริมทางใบเป็นการช่วยเสริมกับการให้ปุ๋ยทางราก เพราะจะทำให้ต้นไม้ได้รับปุ๋ยครบถ้วนและเห็น
ผลเร็วขึ้นควรให้ประมาณ 10 - 15 วัน ต่อครั้ง
ภาพที่ 46 ปุ๋ยชนิดต่าง ๆ
ภาพจากวารสาร เคหการเกษตร : ฉบับที่ 9 / 2544
การให้น้ำ
มีคำกล่าวว่า เมื่อต้นไม้ไม่สบาย มีอาการผิดปกติ สาเหตุ 9 ใน 10 เป็นเพราะเรื่องการให้น้ำไม่ว่าจะเป็นการให้น้ำ
มากเกินไป หรือน้อยเกินไป หรือให้ไม่ถูกวิธี 1
วิธีการให้น้ำ
การรดน้ำโดยทั่ว ๆ ไปมีหลายแบบด้วยกันคือ
1. การให้น้ำเหนือดินโดยใช้สายยางฉีด บัวรดน้ำ หรือใช้สปริงเกอร์เป็นการรดน้ำบนต้นพืชเลย สาหรับ
ไม้ดอกประดับไม่ควรใช้วิธีนี้ เพราะจะทำให้เกิดโรคได้ง่าย ใบและดอกสกปรก หน้าดินจะถูกทำลาย ทำให้รากลอยแห้ง
2. การให้น้ำจากด้านล่าง โดยเอาภาชนะปลูกวางลงบนที่ใส่น้ำ ให้น้ำค่อย ๆ ซึมเข้าไปในภาชนะปลูก
วิธีนี้นิยมมากในการปลูกไม้กระถาง ถ้าเป็นไม้ที่ปลูกในแปลงอาจใช้วิธีปล่อยน้ำไปตามร่อง
3. การให้น้ำระบบน้ำหยด วิธีนี้ใช้ได้กับไม้ที่ปลูกในแปลงและในภาชนะปลูก สามารถควบคุมการหยด
ของน้ำให้มากหรือน้อยตามต้องการได้ แต่ถ้าน้ำไม่สะอาดอาจทำให้เกิดการอุดตันของหัวหยดได้ วิธีนี้ลงทุนค่อนข้างสูงแต่ประหยัดแรงงาน และเหมาะที่จะใช้กับการปลูกพืชเป็นจำนวนมาก ๆ เพื่อผลิตเป็นการค้า
ภาพที่ 47 การให้น้ำในระบบน้ำหยด
ภาพจากหนังสือ เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ : สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย
การใส่ปุ๋ยพรวนดิน
ปุ๋ยคือสารอินทรีย์ หรือ อนินทรีย์ ที่ใส่ลงในดินแล้วสามารถทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี สารนั้นอาจเป็นอาหารพืช
โดยตรง หรือ มีอาหารพืชอยู่ในปริมาณน้อย แต่สามารถปรับปรุงคุณสมบัติของดินเป็นผลทางอ้อมให้พืชเติบโตก็ได้ปกติพืชได้อาหาร
จากหลายทาง คือ
1. ใบพืชมีรูใบอยู่บนผิวนอก พืชดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศเข้าทางรูใบ ก๊าซนี้จะกระจาย
เข้าไปในคลอโรฟิลด์ซึ่งเป็นเม็ดสีเขียว แล้วรวมตัวกับน้ำ และพลังงานจากแสงแดดได้เป็นน้ำตาลกระบวนการสร้างอาหารนี้เรียกว่า
" การสังเคราะห์แสง "
2. พืชดูดน้ำและแร่ธาตุผ่านทางราก โดยปกติน้ำในรากพืชมีความเข้มข้นกว่าน้ำในดินจากนั้นจึงส่งผ่าน
ผนังเซลของรากไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของลำต้นโดยทั่วไปแล้วพืชต้องการธาคุอาหารในการเจริญเติบโตอย่างน้อย 16 ธาตุ ในปริมาณที่แตกต่าง
กัน ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน พืชจะได้รับจากอากาศและน้ำ อีก 13 ธาตุ ที่เหลือพืชจะได้จากในดิน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
และโปแตสเซี่ยมนั้นพืชต้องการเป็นจำนวนมาก เรียกว่าธาตุอาหารหลัก ปกติในดินจะมีไม่พอกับความต้องการของพืชจึงต้องเพิ่มให้ใน
รูปของปุ๋ย ส่วนธาตุที่เหลือมักจะมีอยู่ในดินหรือเป็นส่วนประกอบของปุ๋ยจึงไม่ค่อยมีปัญหามากนัก จะมีปัญหาก็ต่อเมื่อดินนั้นมีการปลูกพืช
ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หรือเป็นดินทราย ดินด่างที่ไม่ได้รับการปรับปรุง ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดินมีหลายรูปแบบ ดังนี้
1. รวมอยู่กับธาตุอื่นในหิน และแร่
2. มีในอินทรีย์วัตถุโดยอาศัยจุลินทรีย์เป็นตัวย่อยแร่ธาตุออกมา
3. ถูกยึดอยู่ที่ผิวของแร่และถูกดูดไปใช้เมื่อละลายในน้ำ
4. ละลายอยู่กับน้ำในดิน
พืชสามารถนำไปใช้ได้ในทุกวิธีที่กล่าวมาปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ เช่นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์เป็นที่มาของธาตุอาหารพืชแต่มีในปริมาณที่น้อย ข้อดีพิเศษคือ สามารถช่วยปรับปรุงดินให้ร่วนซุย และอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
ข้อควรปฏิบัติในการใส่ปุ๋ยกับไม้ดอกประดับ
1. ควรคลุกปุ๋ยกับดินก่อนปลูกต้นไม้ลงไป
2. ต้นกล้าที่เพิ่งเอาออกปลูกในแปลงควรทำร่องห่างจากต้น 2 - 3 นิ้ว แล้วโรยปุ๋ยลงในร่องจากนั้นจึงกลบดิน
3. ต้นที่โตแล้วโรยปุ๋ยข้าง ๆ ต้นห่างประมาณ 6 - 8 นิ้ว แล้วพรวนดินคลุกปุ๋ยรดน้ำให้ชุ่ม
4. การให้ปุ๋ยทางใบ เป็นวิธีที่ช่วยให้พืชได้รับปุ๋ยได้เร็ว ครบถ้วน โดยเฉพาะเมื่อย้ายต้นกล้าไปปลูกใหม่ ๆ รากยัง
ไม่ทันตั้งตัวใบจะดูดปุ๋ยไปใช้ทำให้ต้นตั้งตัวได้เร็วขึ้น
การให้ปุ๋ยควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. ใส่ให้เหมาะสมกับระยะเวลาการเจริญเติบโตของพืช
2. เมื่อให้ปุ๋ยแล้วควรรดน้ำ เพราะน้ำจะเป็นตัวช่วยทำละลาย พืชจะสามารถดูดปุ๋ยไปใช้ได้เร็วขึ้น
3. ก่อนให้ปุ๋ยควรกำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้แย่งปุ๋ยจากพืชที่ปลูก
4. สภาพดินควรมีความเป็นกลางมากที่สุด พืชถึงจะได้ปุ๋ยได้เต็มที่
วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)